ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เครื่องพ่นไฟแบบหัวเผาน้ำมัน (Oil Burners)

            การใช้งานเครื่องพ่นไฟแบบหัวเผาน้ำมันค่อนข้างซับซ้อน เพราะว่าเชื้อเพลิงต้องอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเผาไหม้ที่สะอาดและรวดเร็ว และด้วยข้อกำหนดเช่นนี้จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปน้ำมันให้อยู่ในสภาวะที่เป็นฝอยละอองละเอียด (Atomization) เพื่อให้น้ำมันกลายเป็นฝอยเล็ก ๆ มีขนาดตามที่ต้องการ สามารถทำได้ถ้าน้ำมันอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมและมีความหนืดที่พอเหมาะ ถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไปหยดน้ำมันก็จะใหญ่ การเผาไหม้ก็จะไม่ดีและก่อให้เกิดเขม่าและควันดำ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป หยดน้ำมันก็จะเล็กเกินทำให้เกิดการเผาใหม้ที่เร็วเกินทำให้การเผาใหม้และก่อให้เกิดควันขาว

             เครื่องพ่นไฟหัวเผาน้ำมันแบ่งออกเป็น 3 อย่าง แบบที่ใช้ง่ายที่สุดและมีการใช้อย่างกว้างขวางที่สุดก็คือ หัวเผาน้ำมันแบบพ่นด้วยความดัน (Pressure Jet) คือน้ำมันจะถูกสูบขึ้นมาที่ความดันผ่านหัวฉีด แบบที่ 2 คือหัวเผาน้ำมันแบบเป่าด้วยอากาศหรือไอน้ำ (The Air or Steam Blast Type) จะใช้ความดันอากาศหรือไอน้ำเพื่อพ่นน้ำมันให้กลายเป็นฝอยน้ำมัน ในขณะที่หัวเผาน้ำมันแบบโรตารี่คัพ (Rotary Cup) จะใช้การบังคับด้วยแรงเหวี่ยงเพื่อทำให้น้ำมันกลายเป็นฝอยน้ำมันหัวเผา แต่ละประเภทก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป

เครื่องพ่นไฟหัวเผาน้ำมันแบบพ่นด้วยความดัน (Pressure Jet)

ข้อดี

  • โครงสร้างไม่ซับซ้อนและมีราคาถูก
  • มีหลายขนาดให้เลือกเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์
  • สามารถปรับรูปร่างของเปลวไฟได้ มีตั้งแต่ผอมยาวไปจนถึงสั้นกว้างซึ่งทำให้เหมาะสมกับห้องเผาไหม้

ข้อเสีย

  • น้ำมันที่สกปรกมักจะอุดตันทำให้ต้องมีการกรอง
  • มีข้อจำกัดอัตราส่วน Turn-down เพียง 2 : 1
  • เกิดความเสียหายได้ง่ายระหว่างการทำความสะอาด
  • ต้องการอุณหภูมิสูงเพื่อเปลี่ยนรูปน้ำมันให้อยู่สภาวะที่เป็นฝอยละเอียด


เครื่องพ่นไฟหัวเผาน้ำมันแบบเป่าด้วยอากาศหรือไอน้ำ (Air or Steam Blast Atomiser)

ข้อดี

  • มีโครงสร้างที่ทนทานแข็งแรง
  •  มีอัตราส่วน Turn-down ที่ดีคือ 4 : 1
  • มีการควบคุมอากาศหรือเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเผาไหม้ได้ตลอดเวลา
  • สามารถเผาไหม้กับน้ำมันเตาได้เป็นอย่างดี

ข้อเสีย

  • พลังงานที่ใช้เพื่อเปลี่ยนรูปน้ำมันให้อยู่ในสภาวะที่เป็นฝอยละเอียดต้องเป็นแรงดันอากาศหรือไอน้ำ

เครื่องพ่นไฟหัวเผาน้ำมันถ้วยหมุน (Rotary Cup)

ข้อดี

  • มีอัตราส่วน Turn-down ที่ดีคือ 4 : 1
  • สามารถเปลี่ยนรูปน้ำมันให้อยู่ในสภาวะที่เป็นฝอยละเอียดได้เป็นอย่างดี
  • ใช้อุณหภูมิต่ำในการอุ่นน้ำมันเพื่อเปลี่ยนรูปน้ำมันให้อยู่ในสภาวะที่เป็นฝอยละเอียด

ข้อเสีย

  • การบำรุงรักษาซับซ้อนยุ่งยากและราคาแพง
  • ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อหมุนถ้วย หัวเผาน้ำมันและแก๊สชนิดนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมายเพื่อความปลอดภัยและมาตรฐานการปล่อยมลพิษ ของประเทศนั้นๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประเภทของเครื่องพ่นไฟมีกี่ประเภท

BURNER ประเภทของเครื่องพ่นไฟ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ตามชนิดเชื้อเพลิง OIL BURNER เชื้อเพลิงเป็นของเหลว เช่น น้ำมันเตา, ดีเซล นิยมใช้กันมาก เพราะเชื้อเพลิงราคาถูก (น้ำมันเตา)หลักการของการทำงาน คือ " ให้น้ำมันแตกตัวมากที่สุด เพื่อให้การเผาไหม้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์ที่สุด "แบ่งเป็น 3 ชนิด ตามลักษณะการกระจายน้ำมันที่หัวฉีด 1.1 Air Atomizing ใช้ลมแรงดันประมาณ 9-20 Psi ในการผสมกับเชื้อเพลิงเหลวในห้องเผาไหม้ เพื่อให้น้ำมันแตกตัวรวมกับอากาศ และได้ประสิทธิภาพสูงสุด ระบบนี้ต้องใช้แก๊ส LPG นำร่องในช่วงจุดเริ่มต้น นิยมใช้ในบอยเลอร์ของสหรัฐอเมริกา 1.2 Pressure Atomizing ใช้ปั๊มน้ำมันแรงดันสูง สูบอัดน้ำมันให้เป็นฝอย ด้วยแรงดัน 10-30 bar Recommended Viscosity at Nozzle head equal 10 CST ( Temp. 120-130°C ) เนื่องจาก น้ำมันถูกฉีดเป็นฝอยละอองเล็กมาก จึงสามารถจุดลุกไหม้ได้ โดยมิต้องใช้ Gas จุดนำร่อง เครื่องพ่นไฟชนิดนี้ ผู้ผลิตบางราย สามารถปรับ Primary Air ที่ Combustion head เพื่อปรับอากาศส่วนเกินได้ จึงทำให้มีประสิทธิภาพ การเผาไหม้ที่ดี ( Excess

การบำรุงรักษาหัวพ่นไฟ

การบำรุงรักษาเครื่องพ่นไฟ การบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องพ่นไฟเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะ ถ้าได้รับการดูแลรักษา และตรวจตามระยะเวลาอย่างสม่ำเสมอแล้ว จะช่วยลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง และงานซ่อมบำรุงลงได้มาก เราสามารถแบ่งการบำรุงรักษาเครื่องพ่นไฟได้ตามขั้นตอนเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนการทำความสะอาด (Cleaning) ควรทำทุก ๆ สัปดาห์ สำหรับกรณีสภาพแวดล้อมปกติ ควรทำ 2 – 3 ครั้ง/สัปดาห์ กรณีสภาพแวดล้อมมีฝุ่นละอองมาก การทำความสะอาดเครื่องพ่นไฟแบบแก๊ส (GAS BURNER Cleaning) Clean Ignition Electrode Clean inside control panel Clean blower slot Clean regulating sleeve of control segment Clean gas filter การทำความสะอาดเครื่องพ่นไฟแบบน้ำมัน (OIL BURNER Cleaning) Clean oil filter Clean nozzle head Clean Ignition electrode Clean inside control panel Clean blower fan slot Clean regulating sleeve of control segment Clean flame sightless Clean burner body ขั้นตอนที่ 2 การตรวจเช็คสภาพและทดสอบการทำงาน (Condition Check and Function Test) งานตรวจเช็ค จะรวมถึงการจดบันทึกค่าต่